1. ภูมิหลังการครองอำนาจของพระญาติวงศ์และขันที
- สถานการณ์การเมืองต้นราชวงศ์ฮั่นตะวันออก
- พระเจ้าฮั่นกวงอู่ลดหย่อนภาษี ปรับปรุงการทำงานของข้าราชการส่วนท้องถิ่น ส่งเสริมวัฒนธรรมและการศึกษา ทำให้ประเทศฟื้นตัวและพัฒนาขึ้น ในสมัยพระเจ้าฮั่นจังตี้ให้ยกเลิกบทบัญญัติโทษที่ทารุณโหดร้าย เชิดชูปรัชญาความรู้ของขงจื้อ นับว่าเป็นยุคเจริญรุ่งเรืองสูงสุดของอาณาจักรฮั่นตะวันออก
- ภูมิหลังการแย่งชิงอำนาจระหว่างพระญาติวงศ์กับขันที
- ต้นสมัยการก่อตั้งราชวงศ์ ได้ก่อปัจจัยที่ทำให้เกิดการแย่งชิงอำนาจกันระหว่างพระญาติวงศ์กับหมู่ขันที เนื่องจากจักรพรรดิทรงพระเยาว์ และพระชนนีไว้พระทัยในพระญาติให้บริหารบ้านเมือง ครั้นจักรพรรดิเติบใหญ่ได้อาศัยขันทีในการแย่งอำนาจบริหารกลับคืน
2. สถานการณ์การเมืองช่วงพระญาติวงศ์และขันทีเรืองอำนาจ
- สภาพการแย่งชิงอำนาจระหว่างพระญาติวงศ์กับขันที
- นับแต่สมัยพระเจ้าฮั่นเหอตี้ พระญาติวงศ์กับขันทีได้ผลัดเปลี่ยนกันยึดอำนาจบริหารราชสำนักเป็นเวลากว่า 100 ปี เกิดความแหลกเหลวทางการเมือง จนเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ราชวงศ์ฮั่นตะวันออกล่มสลาย
- ความวิบัติของแนวร่วมปัญญาชน
- เหล่าปัญญาชนและข้าราชการต่างไม่พอใจกับการปกครองแบบเผด็จการของขันที ได้ทำการวิจารณ์การบริหารของราชสำนักจึงถูกตอบโต้และกวาดล้าง เป็นเหตุให้เกิดการทำลายล้างแนวร่วมปัญญาชนถึง 2 ครั้ง ผลคือคนของแนวร่วมถูกจับกุมและสังหาร ขันทียังคงเรืองอำนาจ
- กบฏโพกผ้าเหลือง
- จังเจี่ยวก่อตั้งนิกายไท่ผิงเต้า ปลุกระดมมวลชนก่อจลาจล ถึงแม้จะไม่สำเร็จ แต่ก็เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การปกครองของราชวงศ์ฮั่นตะวันออกสั่นคลอนทรุดลงไปมาก
- การยึดครองเขตปกครองของเหล่าขุนศึก
- ขุนนางที่ปกครองโจวและจวิ้น นับวันก็ยิ่งมีอำนาจแข็งแกร่งจนเกิดการต่อสู้แย่งชิงดินแดนกัน ต่งจัวสนับสนุนให้พระเจ้า ฮั่นเซี่ยนตี้เป็นจักรพรรดิ ต่อมาต่งจัวถูกสังหาร เฉาเชาบังคับพระเจ้าฮั่นเซี่ยนตี้ลี้ภัยไปยังเมืองสี่ว์ชาง และรวบอำนาจบริหารบ้านเมืองไว้เสียเอง บุตรชายของเฉาเชาคือเฉาพี ชิงราชบัลลังก์จากพระเจ้าฮั่นเซี่ยนตี้ ราชวงศ์ฮั่นตะวันออกจึงถึงกาลล่มสลาย
ที่มา : หนังสือประวัติศาสตร์จีน นานมีบุ๊ค
สรุปสาระสำคัญ บทที่ 5 ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก : พระญาติวงศ์และขันทีครองเมือง
หน้าที่ : 102 - 103